โซดาซ่า ดูบอล
Menu
กรุณากดปุ่ม แชร์ ให้เพื่อนๆได้มาดูด้วย

เทคนิคพื้นฐานสำหรับการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์

เทคนิคพื้นฐานสำหรับการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ เมื่อจำหน่ายสินค้าทางออนไลน์ ภาพถ่ายผลิตภัณฑ์สามารถสร้างความแตกต่างต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้ที่คาดว่าจะเป็นลูกค้าได้ ดังนั้น การเก็บรายละเอียดคุณลักษณะและสภาพภายนอกของสินค้าได้เหมือนจริงจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง สิ่งสำคัญที่คุณควรรู้ก่อนจะลงมือถ่ายภาพได้แก่ ทางยาวโฟกัสและรูรับแสงของเลนส์ รวมถึงการใช้แสง ในบทความนี้ เราจะอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการถ่ายภาพสินค้าให้ดูสวยงาม โดยใช้ภาพตัวอย่างที่ถ่ายด้วยกล้อง EOS 750D คู่กับเลนส์ EF-S18-55mm f/3.5-5.6 IS STM (เรื่องโดย: Teppei Kohno)ภาพตัวอย่างที่ถ่ายด้วย EOS 750DEOS 750D/ EF-S18-55mm f/3.5-5.6 IS STM/ FL: 55 มม. (เทียบเท่ากับ 88 มม.)/ Aperture-piority AE (f/11, 1/60 วินาที, EV+1.3)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ ถ่ายทอดรูปทรงของสินค้าได้อย่างสมจริงด้วยการโฟกัสของทั้งชิ้นอย่างคมชัดแผนภาพ แสดงขั้นตอนการถ่ายภาพ A: ใช้ทางยาวโฟกัสเทเลโฟโต้ระยะกลาง B: ปรับรูรับแสงให้แคบลง C: ใช้แสงธรรมชาติที่ส่องผ่านม่านหน้าต่างเมื่อถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ ควรคำนึงถึงประเด็นสำคัญ 3 ข้อ เพื่อที่จะเก็บภาพรูปทรงและรายละเอียดได้อย่างแม่นยำ ประการแรก ถ่ายภาพโดยใช้ทางยาวโฟกัสเทเลโฟโต้ระยะกลาง หากคุณถ่ายภาพในระยะมุมกว้าง ภาพผลิตภัณฑ์ที่ได้จะดูบิดเบี้ยว และคุณจะไม่สามารถเก็บภาพรูปทรงได้อย่างแม่นยำ ให้ลองใช้ทางยาวโฟกัสที่เทเลโฟโต้ระยะกลางที่ประมาณ 80 ถึง 90 มม. (เทียบเท่ากับฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.) ประการที่สอง ปรับค่ารูรับแสง เพื่อถ่ายทอดรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม จำเป็นต้องปรับรูรับแสงให้แคบลงถึงค่าประมาณ f/11 และโฟกัสไปที่ตัวผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ประการสุดท้าย ระวังเรื่องการใช้แสง หากคุณใช้แสงธรรมชาติที่ส่องผ่านม่านหน้าต่าง แสงที่อยู่โดยรอบผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจะช่วยให้คุณเก็บภาพพื้นผิวได้อย่างเป็นธรรมชาติใกล้เคียงกับความเป็นจริง หลีกเลี่ยงการใช้แฟลชติดกล้องหากเป็นฉากมืดในที่ร่ม เนื่องจากจะทำให้เกิดเงาชัดเจนและส่งผลให้รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ขาดความคมชัด เคล็ดลับที่ 1: ใช้ทางยาวโฟกัสในเทเลโฟโต้ระยะกลางเพื่อถ่ายรูปทรงของสินค้าได้เหมือนจริงหากต้องการเก็บภาพรูปทรงของผลิตภัณฑ์ได้อย่างสมจริง ให้ตั้งทางยาวโฟกัสที่เทเลโฟโต้ระยะกลาง แล้วลองถ่ายภาพจากตำแหน่งที่ห่างออกมาเล็กน้อย หากคุณถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ในระยะใกล้โดยใช้ระยะมุมกว้าง ขนาดด้านหน้าและหลังของผลิตภัณฑ์จะเปลี่ยนแปลงไป รับถ่ายรูปสินค้า ทำให้รูปทรงของผลิตภัณฑ์ดูแตกต่างจากความเป็นจริงอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างที่ดี: ภาพถ่ายไม่บิดเบี้ยวเมื่อถ่ายที่เทเลโฟโต้ระยะกลางภาพตัวอย่างที่ถ่ายด้วย EOS 750DEOS 750D/ EF-S18-55mm f/3.5-5.6 IS STM/ FL: 55 มม. (เทียบเท่ากับ 88 มม.)/ Aperture-piority AE (f/11, 1/60 วินาที, EV+1.3)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติตัวอย่างที่ไม่ดี: ภาพถ่ายบิดเบี้ยวเมื่อถ่ายที่ระยะมุมกว้างภาพตัวอย่างที่ถ่ายด้วย EOS 750DEOS 750D/ EF-S18-55mm f/3.5-5.6 IS STM/ FL: 24 มม. (เทียบเท่า 38 มม.)/ Aperture-priority AE (f/11, 1/60 วินาที, EV+1.3)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ หากถ่ายภาพที่เทเลโฟโต้ระยะกลางที่ 88 มม. (เทียบเท่ากับฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.) และที่ระยะมุมกว้างที่ 38 มม. (เทียบเท่ากับฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.) คุณจะเห็นว่ารูปทรงของผลิตภัณฑ์แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ตรงกันข้ามกับการถ่ายภาพที่ระยะมุมกว้าง ซึ่งภาพจะเกิดความบิดเบี้ยวอย่างชัดเจน หากถ่ายภาพที่เทเลโฟโต้ระยะกลาง ภาพจะมีความบิดเบี้ยวน้อยมาก จึงถ่ายทอดรูปทรงของผลิตภัณฑ์ออกมาได้อย่างถูกต้องสมจริง เคล็ดลับที่ 2: ปรับรูรับแสงให้แคบลง และโฟกัสที่ตัวผลิตภัณฑ์ทั้งชิ้นหากระยะที่ปรากฏในโฟกัสค่อนข้างแคบ เราจะถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ทั้งหมดได้ไม่ชัดเจนนัก และคุณจะไม่สามารถถ่ายทอดรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ได้ ทางที่ดีจึงควรปรับรูรับแสงให้แคบลงถึงค่า f/11 เพื่อถ่ายภาพ โปรดจำไว้ว่ายิ่งใช้ทางยาวโฟกัสยาวขึ้นเท่าใด ภาพจะมีระยะชัดตื้นขึ้นเท่านั้น ดังนั้น ในการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ ซึ่งมักใช้ทางยาวโฟกัสในระยะเทเลโฟโต้อยู่บ่อยครั้ง อาจจำเป็นต้องปรับรูรับแสงให้แคบลงถึงค่า f/16 ในบางกรณี

โพสต์โดย : Chor2537 Chor2537 เมื่อ 4 ธ.ค. 2562 11:27:58 น. อ่าน 141 ตอบ 0

facebook