1. วิธีการ รื้อถอน ยื่นขออนุญาตกับหน่วยงานราชการ สำนักงานเขต หรือ เทศบาล โดยจัดเตรียมเอกสาร ยื่นขอประมาณ 10-15 วัน (ใช้อะไร เตรียมอะไรบ้างจะขออธิบายในบทความต่อไปครับ)
2. สำรวจพื้นที่ กำหนดเส้นทางรถเข้าออก ที่พักคนงาน ระบบไฟฟ้าส่องสว่าง ระบบน้ำฉีดละอองป้องกันฝุ่น พร้อมติดป้ายเตือนภัยต่างๆ
3. ตัดระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ งานระบบทุกชนิดที่เข้าตัวอาคารทั้งหมด หากต้องการไฟฟ้าส่องสว่างหรือไว้ใช้ควรเดินสายไฟใหม่เข้าพื้นที่
4. สร้างรั้ว กันช้อน กันวัสดุตกหล่น
5. คลุมอาคารป้องกันฝุ่นฟุ้งกระจาย ตั้งนั่งร้านคลุมอาคาร(หากงบประมาณเพียงพอ)
6. รื้อวัสดุแขวนลอยภายนอกและภายในอาคาร , รื้อระบบสายไฟ , ท่อประปา , พื้นไม้ (ถ้ามี) , รื้อหน้าต่าง ประตู ผนังกันห้องและฝ้าเพดานที่ทำจากไม้ , รื้อเฟอร์นิเจอร์ , สุขภัณฑ์ที่นำกับมาใช้ได้ (สรุป รื้อทรัพย์สินที่สามารถนำออกไปขายได้ออกก่อน หรือ รื้ออุปกรณ์วัสดุส่งคืนเจ้าของ)
7. ใช้แรงงานคนทุบ รื้อส่วนผนังก่อริมอาคาร กันสาด ครีบ แผง ทุกชนิดออกจากจุดเสี่ยงทั้งหมด (ยกเว้นครีบ ผนังก่อในตัวอาคาร) เพราะสิ่งต่างๆเหล่านี้อาจหลุดได้หากเกิดแรงสั่นสะเทือนจากงานรื้อถอนโดยใช้เครื่องจักร (ซึ่งอุบัติเหตุส่วนใหญ่ของงานทุบตึก รื้อถอน มักจะเกิดจากสิ่งต่างๆเหล่านี้ เกินกว่า 80%)
8. ใช้รถแมคโครบูมยาว หนีบย่อยหรือเจาะสกัด (ขึ้นอยู่กับพื้นที่โดยรอบ) ค่อยๆทำลายคอนกรีตจากชั้นบนลงล่าง (Top down) โดยหนีบหรือเจาะพื้นที่ในโซนกลางตึกออกก่อน ซึ่งวิธีการขึ้นอยู่กับลักษณะของตัวอาคารด้วย
9. เมื่อลงมาถึงชั้น 2 หรือ ชั้น 3 ใช้รถแมคโครขนาด PC200 หรือ PC120 เจาะหรือหนีบย่อยอาคารลงมา
10. ย่อยซากที่ได้จากการรื้อถอน พร้อมตักเศษวัสดุออกนอกพื้นที่ พร้อมตัดเหล็ก เก็บเหล็กออกไปขาย
11. ขุดคานคอดิน ฟุตติ้งออกมาย่อย
12. ปรับพื้นที่พรัอมส่งมอบงาน
โพสต์โดย : Chor2537 เมื่อ 27 ม.ค. 2563 19:36:54 น. อ่าน 143 ตอบ 0