โซดาซ่า ดูบอล
Menu
กรุณากดปุ่ม แชร์ ให้เพื่อนๆได้มาดูด้วย

ไขข้อสงสัยแมนฯซิตี้ ทำอะไรถึงโดนยูฟ่าแบน

ไขข้อสงสัยแมนฯซิตี้ ทำอะไรถึงโดนยูฟ่าแบน

ไขข้อสงสัยแมนฯซิตี้ ทำอะไรถึงโดนยูฟ่าแบน

จากกรณีที่ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ โดน สหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) สั่งห้ามลงแข่งขันในศึก ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก รวมถึงรายการอื่นในเวทียุโรปจำนวน 2 ฤดูกาล โทษฐานทำความผิดอย่างรุนแรงต่อกฎควบคุมการเงิน หรือ "ไฟแนนเชี่ยล แฟร์ เพลย์"

  ยูฟ่า มีคำสั่งตามคำตัดสินของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด หน่วยควบคุมการเงินของสโมสร (ซีเอฟซีบี) ซึ่งโทษแบนดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในซีซั่น 2020/21 และ 2021/22 นอกจากนี้ "เรือใบสีฟ้า" ยังถูกปรับเงินก้อนโตถึง 30 ล้านยูโร (ประมาณ 1,020 ล้านบาท) อีกด้วยฐานปรับแต่งบัญชีรายรับ อย่างไรก็ตาม พวกเขามีสิทธิ์ที่จะอุทธรณ์ต่อศาลอนุญาโตตุลาการกีฬา (ซีเอเอส)

    เราพาไปทำความรู้จักกฎควบคุมการเงิน รวมทั้งไปดูไทม์ไลน์คดีผิดกฎการเงินของ แมนฯ ซิตี้

    - กฎควบคุมการเงินคืออะไร

    ยูฟ่า กำหนดให้ทุกสโมสรในทวีปยุโรปที่ลงแข่งรายการระดับนานาชาติของ ยูฟ่า ต้องมีการเงินที่สมดุลกัน หรือก็คือห้ามมีรายจ่ายมากกว่ารายรับเป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อที่จะทำให้ไม่เกิดความเหลื่อมล้ำจากเรื่องเงินมากเกินไป และเพื่อไม่ให้แต่ละทีมมีการกู้เงินมามากเกินจนสุดท้ายทำให้ทีมต้องเสี่ยงต่อการล้มละลาย โดยเริ่มมีการใช้กฎอย่างเป็นทางการตั้งแต่ฤดูกาล 2011-12 เป็นต้นมา ส่วนรายได้ของแต่ละสโมสรต้องเป็นเงินที่สโมสรหามาได้เองเท่านั้น อย่างเช่นเงินที่ได้จากวันที่มีการแข่งขัน, รายได้จากค่าลิขสิทธิ์ทางโทรทัศน์, ด้านโฆษณา, ค่าสปอนเซอร์, เงินจากการขายนักเตะและเงินรางวัล เป็นต้น

   - บทลงโทษด้านกฎควบคุมการเงินคืออะไร

    ที่จริงแล้วบทลงโทษมันไม่ได้มีแค่การตัดสิทธิ์จากการลงเล่นรายการของ ยูฟ่า โดยบทลงโทษมันมีการแบ่งระดับแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของการทำผิดกฎ อย่างเช่นถ้าขาดทุนนิดเดียวก็จะมีการตักเตือน, ระดับปานกลางอาจจะตัดแต้มและให้ลงทะเบียนนักเตะได้น้อยลง และถ้ามีการทำผิดกฎขั้นร้ายแรงก็จะถึงขั้นสั่งตัดสิทธิ์จากการแข่งขันทันที, โดนห้ามลงแข่งในอนาคต หรือการริบแชมป์

    - ทำไม แมนฯ ซิตี้ ถึงโดนลงโทษ

  แมนฯ ซิตี้ ถูกตัดสินว่าพวกเขาปลอมแปลงรายได้ด้านสปอนเซอร์ให้สูงกว่าความเป็นจริง และโกหกว่าบัญชีของพวกเขามีรายได้เท่ากับรายจ่าย ในข้อมูลด้านบัญชีที่พวกเขาส่งไปให้ ยูฟ่า ระหว่างปี 2012-16 โดยพวกเขาทำอย่างนั้นเพื่อที่จะได้รอดจากการโดนลงโทษ หรืออย่างน้อยก็เพื่อให้ดูว่าพวกเขาไม่ได้ขาดทุนเป็นจำนวนมาก จนจะทำให้ไม่โดนลงโทษสถานหนัก

    มาตรการลงโทษของ ยูฟ่า ในครั้งนี้ ยึดจากคำตัดสินของคณะกรรมการด้านข้อพิพาทของหน่วยงานควบคุมด้านการเงินระดับสโมสร (ซีเอฟซีบี) โดย ซีเอฟซีบี เป็นหน่วยงานอิสระของ ยูฟ่า (หมายถึงเป็นหน่วยงานที่สามารถดำเนินมาตรการต่างๆ ได้ โดยที่ไม่ต้องรอคำสั่งจาก ยูฟ่า เป็นหลัก) และพวกเขาก็พิจารณาคดีนี้ไปเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา

    - ไทม์ไลน์คดีผิดกฎการเงินของ แมนฯ ซิตี้

    24 พฤษภาคม 2014 - ยูฟ่า สั่งปรับเงิน แมนฯ ซิตี้ 49 ล้านปอนด์ (ประมาณ 1,960 ล้านบาท) โทษฐานที่ไม่สามารถทำให้บัญชีของทีมมีความสมดุลตามกฎควบคุมการเงินได้ แต่เป็นการจ่ายทันที 17 ล้านปอนด์ (ประมาณ 680 ล้านบาท) ส่วนอีก 32 ล้านปอนด์ (ประมาณ 1,280 ล้านบาท) เป็นการระงับเอาไว้ก่อน นอกจากนี้ พวกเขายังโดนสั่งให้ลงทะเบียนนักเตะลงเล่น แชมเปี้ยนส์ ลีก ประจำฤดูกาล 2014-15 ได้เพียง 21 คนเท่านั้น จากเดิมที่แต่ละทีมลงทะเบียนได้ 25 คน

    ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2018 - แดร์ สปีเกิ้ล นิตยสารสัญชาติเยอรมัน เปิดเผยเอกสารและอีเมลที่ ฟุตบอล ลีคส์ เว็บไซต์แนวเปิดเผยเรื่องลับในวงการฟุตบอล ออกมาเปิดโปงเรื่องการทำผิดกฎของ แมนฯ ซิตี้ โดยมันกล่าวถึงบทความหลายบทความที่บอกว่า ซิตี้ พยายามทำเรื่องผิดกฎอย่างการปลอมแปลงตัวเลขในบัญชี อย่างเช่นเงินที่ได้รับจากสปอนเซอร์ เพื่อที่จะได้ไม่ถูกมองว่าพวกเขาละเมิดกฎการเงินขั้นร้ายแรง ซึ่งจะช่วยทำให้ได้รับบทลงโทษสถานเบา หรือไม่ก็ไม่โดนลงโทษเลย โดยหลังจากนั้น แมนฯ ซิตี้ บอกว่ารายงานของ แดร์ สปีเกิ้ล เป็นการพยายามทำลายชื่อเสียงของพวกเขา โดยที่บอกว่าอีกฝ่ายวางแผนมาเป็นอย่างดีด้วย

7 มีนาคม 2019 - ยูฟ่า ประกาศทำการสอบสวนข้อกล่าวหาการละเมิดกฎควบคุมการเงินของ แมนฯ ซิตี้ อย่างเป็นทางการ หลังจากที่สื่อนำเสนอเรื่องการพยายามปลอมแปลงตัวเลขในบัญชีของ แมนฯ ซิตี้ กันอย่างหนัก โดยฝั่ง แมนฯ ซิตี้ แถลงการณ์ถึงเรื่องนี้ว่า "แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ไม่มีปัญหาแต่อย่างใดกับการที่ ยูฟ่า ทำการสอบสวนอย่างเป็นทางการ เรามองว่ามันเป็นโอกาสอันดีที่จะช่วยยุติข่าวลือต่างๆ ที่เกิดจากการแฮ็กแบบผิดกฎหมาย และการนำเสนออีเมล์ของ ซิตี้ แบบที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงได้ ข้อกล่าวหาที่บอกว่าเราทำผิดกฎการเงินมันไม่เป็นความจริงเลย บัญชีที่สโมสรเปิดเผยไปนั้นเป็นข้อมูลที่แท้จริงทั้งหมด, ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นไปตามข้อบังคับ

    8 มีนาคม 2019 - พรีเมียร์ลีก ยืนยันว่าพวกเขาเองก็กำลังสอบสวน แมนฯ ซิตี้ ถึงข้อกล่าวหาการละเมิดกฎควบคุมการเงินอยู่เหมือนกัน

    16 พฤษภาคม 2019 - เจ้าหน้าที่สอบสวนของหน่วยงานด้านการควบคุมการเงินของ ยูฟ่า ส่งคดีของ แมนฯ ซิตี้ ไปให้คณะกรรมการด้านข้อพิพาทของ ยูฟ่า พิจารณา หลังจากพวกเขาทำการสอบสวนจนเสร็จแล้ว

    6 มิถุนายน 2019 - แมนฯ ซิตี้ ขอร้องให้ศาลอนุญาโตตุลาการกีฬาโลก (ซีเอเอส) ช่วยหยุดการที่ ยูฟ่า กำลังดำเนินมาตรการสอบสวนพวกเขาในคดีด้านกฎควบคุมการเงิน

    15 พฤศจิกายน 2019 - แมนฯ ซิตี้ ไม่ประสบความสำเร็จในการพยายามทำให้ ยูฟ่า เลิกสอบสวนพวกเขา

    14 กุมภาพันธ์ 2020 - แมนฯ ซิตี้ โดน ยูฟ่า สั่งตัดสิทธิ์จากการลงเล่นทัวร์นาเมนต์ระดับนานาชาติที่ขึ้นตรงต่อ ยูฟ่า เป็นเวลา 2 ฤดูกาล ประกอบด้วยฤดูกาล 2020-21 กับ 2021-22 รวมถึงถูกสั่งปรับเงิน 24.9 ล้านปอนด์ (ประมาณ 996 ล้านบาท) หลังจากที่ ยูฟ่า มองว่าพวกเขาทำผิดกฎขั้นร้ายแรงตามกฎใบอณุญาตระดับสโมสร และกฎควบคุมการเงิน หลังจากนั้น แมนฯ ซิตี้ ก็ออกมาประกาศว่าพวกเขาจะยื่นอุทธรณ์เรื่องนี้กับ ซีเอเอส

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Casa982

เว็บพนันออนไลน์ครบเครื่อง

บอล หวย มวย ไก่ชน คาสิโน

ฝาก-ถอนขั้นต่ำ 300บาท

การเงิน100% ไม่มีประวัติเสีย ได้จริงจ่ายจริงไม่มีลูกเล่น

เว็บมั่นคง ลูกค้ามากมายไว้วางใจ

สมัครใหม่รับโบนัส 50%

สนใจสมัครแอดไลน์มาได้เลย IDLINE : @casa982 (ใส่ @ ด้วยนะคะ)

#แทงบอลออนไลน์ #แทงบอล


โพสต์โดย : meena meena เมื่อ 15 ก.พ. 2563 09:40:47 น. อ่าน 135 ตอบ 0

facebook