โซดาซ่า ดูบอล
Menu
กรุณากดปุ่ม แชร์ ให้เพื่อนๆได้มาดูด้วย

ตรวจสอบสถานะ เกษตรกร รับเงินเยียวยา

ตรวจสอบสถานะ จากที่ กรมส่งเสริมการเกษตรเผยรายละเอียดความคืบหน้า ตรวจสอบสถานะเกษตรกร เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2563 เนื่องจากกระทรวงการคลัง เสนอที่ประชุม ครม. อนุมัติจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกร แก้ปัญหาวิกฤต โควิด-19 และภัยแล้ง รายละ 15,000 บาท จำนวน 9 ล้านครัวเรือน ซึ่งเป็นการจ่ายครั้งเดียว โดยจะยึดโยงข้อมูลที่เกษตรกรขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก่อนหน้านี้ และตรวจสอบกับฐานข้อมูลของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรหรือ ธ.ก.ส.นั้น

ตรวจสอบสถานะ

ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบสถานะเกษตรกรเพื่อความถูกต้อง ก่อนจะประสานกระทรวงการคลังกรณีมีการมอบเงินเยียวยาให้เกษตรกรปี 2562 มีผู้มาขึ้นทะเบียนเกษตรกรประมาณ 7.5 ล้านครัวเรือน โดยสถานภาพในทะเบียนเกษตรกรจะมีอายุ 3 ปี ดังนั้น หากเกษตรกรที่ไม่ได้ปรับปรุงทะเบียนการเพาะปลูกปีที่แล้ว จะย้อนหลังถึงวันที่ 23 มิถุนายน 2560

ความถูกต้องข้อมูลเกษตรกรต้องทำให้ตรงกับข้อมูลบุคคลของกรมการปกครอง ตรวจสอบข้อมูลเอกสารสิทธิ์ที่ดินให้ตรงกับกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย และตรงกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)

โดยตัวเกษตรกรเองยังสามารถ ตรวจสอบสถานะเกษตรกร หรือความเป็นเกษตรกรและสมาชิกครัวเรือน เฉพาะที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรเท่านั้น ได้ดังนี้

  1. เข้าสู่เว็บไซต์  farmer.doae.go.th หรือ คลิกที่นี่
  2. 2. ใส่เลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก
  3. กดคำว่า “ค้นหา” จากนั้นระบบจะแสดงข้อมูลที่ได้ลงทะเบียนไว้

ที่สำคัญ ต้องไม่ลืมว่า การจ่ายเงินให้กลุ่มเกษตรกร เพื่อเยียวยาผลกระทบจาก โควิด-19 นั้น จะเป็นการจ่ายเพียงรอบเดียว 15,000 บาท ต่างจากการจ่ายเยียวยา 5 พันบาทให้อาชีพอิสระที่จ่ายเป็นรายเดือนไป 3 เดือน 

20 เม.ย. 63 ถือเป็นวันดีเดย์! ขอทบทวนสิทธิ ในมาตรการ เราไม่ทิ้งกัน เงินเยียวยา 5,000 บาท หรือการอุทธรณ์ หลังจากที่หลายคนประสบปัญหาถูกปฏิเสธ เนื่องจากระบบตรวจสอบเบื้องต้นว่า “ไม่อยู่ในสิทธิ์” หรือ “ไม่ได้รับสิทธิ์” 

  • เกณฑ์การพิจารณาว่าใครจะได้รับสิทธิ์มี 3 เกณฑ์ใหญ่ คือ

1. ต้องเป็นแรงงาน ลูกจ้าง หรือประกอบอาชีพอิสระ เช่น วินมอเตอร์ไซค์ แท็กซี่ ร้านก๋วยเตี๋ยว ค้าขาย เป็นต้น แสดงว่าต้องมีงานทำ

2. ต้องไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ส่วนสถานประกอบการขนาดเล็ก มีลูกจ้าง 2-3 คน เช่นร้านนวดแผนโบราณ ถ้าร้านถูกปิด แรงงานที่ทำงานในร้านนี้มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา

3. ท่านได้รับผลกระทบจากโควิดอย่างไร จะต้องเป็นผลกระทบต่อรายได้ที่เป็นตัวเงิน เพราะมาตรการเป็นการชดเชยรายได้ที่หายไปจากโควิด

ตรวจสอบสถานะ กล่าวโดยสรุปคือ สำหรับ ‘คนที่ผ่านเกณฑ์’ ในการรับเงินเยียวยาว ‘เราไม่ทิ้งกัน’ คือ คนที่ประกอบอาชีพอิสระ ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม และ ได้รับผลกระทบจากโควิด-19  โดยได้คัดกรอง 4 กลุ่มอาชีพที่ได้รับการเยียวยา ได้แก่ กลุ่มผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาล แท็กซี่ วินมอเตอร์ไซค์ มัคคุเทศก์

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 63 นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ได้ เปิดเผยว่า

“ตั้งแต่วันจันทร์นี้ 20 เม.ย. 63 จะเริ่มให้ผู้ลงทะเบียนเข้าไปขอทบทวนสิทธิ์ จากนั้นในวันที่ 23 เม.ย. 63 เจ้าหน้าที่มหาดไทย คลังจังหวัด ธ.ก.ส. และ ธ.ออมสิน จะช่วยลงไปตรวจสอบว่าประกอบอาชีพจริงหรือไม่ นอกจากนี้ยังพร้อมช่วยเหลือ นักเรียน นักศึกษา เพิ่มเติม หากเป็นนักเรียน กศน. เพราะต้องทำงานด้วย เรียนไปด้วย ต้องได้รับการดูแล ส่วนไกด์นำเที่ยวเป็นนักศึกษา เพราะเรียนปริญญาหลายใบ เมื่อทำงานด้วย ลงทะเบียนเรียนได้ จึงต้องช่วยเหลือ”

กลุ่มผู้ที่มีสิทธิ์ “ผ่านเกณฑ์รับเงินเยียวยา” ได้แก่

1. กลุ่มผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาล

2. แท็กซี่

3. วินมอเตอร์ไซค์

4. มัคคุเทศก์

5. นักเรียน กศน. (เพิ่มเติมเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 63)

6. ไกด์นำเที่ยวที่เป็นนักศึกษา (เพิ่มเติมเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 63)

  • กลุ่มที่จะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ เนื่องจากไม่ผ่านเกณฑ์ คือ

1. ผู้ได้รับผลกระทบจนทำให้ต้องทำงานที่บ้าน แต่เงินเดือนยังได้ครบ

2. กลุ่มที่ยังทำงาน แต่ยังได้รับเงินเดือนครบเหมือนเดิม

3. กลุ่มที่ตกงานมาเป็นปี หรือตกงานมานาน

4. กลุ่มที่ทำงานในร้านค้าที่ปิดมาก่อนในช่วงที่มีการระบาดของโควิด ก็จะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ

  • คนที่ไม่ผ่านเกณฑ์” มี 10 กลุ่ม ประกอบด้วย 

1. อายุต่ำกว่า 18 ปี 

2. เป็นผู้ว่างงาน 

3. ข้าราชการ 

4. พนักงานรัฐ 

5. ผู้รับบำนาญ 

6. นักเรียน นักศึกษา (ยกเว้น กศน. และไกด์นำเที่ยวที่เป็นนักศึกษา)

7. เกษตรกร 

8. ผู้ค้าออนไลน์ 

9. รับจ้างก่อสร้าง 

10. โปรแกรมเมอร์

ขอบคุณข้อมูล:https://thaihotnew.com/

โพสต์โดย : Thaihotnew Thaihotnew เมื่อ 19 เม.ย. 2563 13:50:41 น. อ่าน 142 ตอบ 0

facebook