กระทรวงการคลัง อนุมัติจ่าย "เงินเยียวยาเกษตรกร" แก้ปัญหาวิกฤต โควิด-19 และภัยแล้ง รายละ 15,000 บาท (แบบจ่ายครั้งเดียว) จำนวน 9 ล้านครัวเรือนโดยจะยึดโยงข้อมูลที่เกษตรกรขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก่อนหน้านี้ และตรวจสอบกับฐานข้อมูลของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรหรือ ธ.ก.ส.
วันนี้ "คมชัดลึก" รวบรวมหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร สำหรับเกษตรกรรายเดิม แปลงเดิม รวมถึงเกษตรกรรายเดิม แต่เพิ่มแปลงใหม่ หรือเกษตรกรรายใหม่ เพื่อให้สามารถ "ลงทะเบียนเกษตรกรรับเงินเยียวยา 15,000" ได้อย่างถูกต้อง ดังนี้
1. หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
1.2 ครัวเรือนเกษตรกร 1 ครัวเรือน จะมีตัวแทนมาขอขึ้นทะเบียนได้เพียง 1 คน ในการพิจารณาว่าครัวเรือนใดขอขึ้นทะเบียนซ้ำซ้อนหรือไม่ เจ้าหน้าที่จะต้องชี้แจงรายละเอียดให้เกษตรกร ผู้ขอขึ้นทะเบียนรับทราบ ตามนิยามที่กําหนด
1.3 เกษตรกรผู้ขอขึ้นทะเบียนต้องบรรลุนิติภาวะ และมีสัญชาติไทย กรณีที่เป็นนิติบุคคล จะต้องมีการมอบหมายผู้แทนมาขึ้นทะเบียน
2. สถานที่ขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร
2.1 เกษตรกรรายเดิม แปลงเดิม
สามารถแจ้งปรับปรุงได้ที่สํานักงานเกษตรอําเภอทุกแห่ง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อมและร่วมเป็นหน่วยสนับสนุนที่เกษตรกรมีพื้นที่การเกษตรอยู่, อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) หรือสามารถแจ้งขึ้นทะเบียนเกษตรกรผ่าน DOAE Farmbook Application ด้วยโทรศัพท์มือถือ (Smartphone) ได้ด้วยตนเอง ดังวิธีต่อไปนี้
2.2 เกษตรกรรายเดิม แต่เพิ่มแปลงใหม่ หรือเกษตรกรรายใหม่
สำหรับเกษตรกรรายใหม่ รวมไปถึงเกษตรกรรายเดิม แต่เพิ่มแปลงใหม่ ให้ยื่นเอกสารที่สํานักงานเกษตรอําเภอที่ตั้งแปลงที่ทํากิจกรรมการเกษตรอยู่ หากมี แปลงที่ทํากิจกรรมการเกษตรหลายพื้นที่ หลายอําเภอ ให้ยื่นที่สํานักงานเกษตรอําเภอที่ตั้งแปลงหลัก (อําเภอที่มีจํานวนแปลงมากที่สุด) กรณีที่ใช้คอมพิวเตอร์แท็ปเล็ต (Tablet) ขึ้นทะเบียนเกษตรกร เจ้าหน้าที่สามารถรับขึ้นทะเบียนเกษตรกรราย ใหม่ในพื้นที่ พร้อมวาดผังแปลงไปพร้อมๆ กันในคราวเดียวได้ (เฉพาะพื้นที่ที่มี Internet)
3. เอกสารประกอบการขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร
3.1 เกษตรกรรายเดิม แปลงเดิม ใช้บัตรประจําตัวประชาชนตัวจริง
3.2 เกษตรกรรายใหม่ หรือ รายเดิม เพิ่มแปลงใหม่ ใช้บัตรประจําตัวประชาชนตัวจริง พร้อมหลักฐานแสดงสิทธิการถือครองที่ดินตัวจริง หรือสําเนาที่มีการรับรองสําเนาจากผู้ครอบครอง ทั้งนี้ สามารถเรียกหลักฐานอื่นๆ เพิ่มเติมได้ตามความจําเป็นและเหมาะสม
4. การขึ้นทะเบียนปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร สามารถดําเนินการได้ทั้งในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์และไม่มีเอกสารสิทธิ์
5. การขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร สามารถดําเนินการได้ทุกลักษณะการถือครองที่ดิน ได้แก่ ของครัวเรือน เช่า อื่นๆ (ทําฟรี/ที่สาธารณประโยชน์)
6. การมอบอํานาจให้บุคคลอื่นมาดําเนินการแทน
6.1 ครัวเรือนเกษตรกรสามารถมอบอํานาจให้สมาชิกในครัวเรือนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนเกษตรกร เดียวกัน เป็นผู้ขอปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรแทนได้ แต่หากเป็นเกษตรกรที่ต้องการขอขึ้นทะเบียนใหม่ต้องแจ้ง ขึ้นทะเบียนเกษตรกรด้วยตนเอง
6.2 นิติบุคคล สามารถมอบอํานาจให้ผู้แทนขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรได้ 7. เจ้าหน้าที่ผู้รับขึ้นทะเบียนจะต้องย้ําให้เกษตรกรทราบว่าต้องแจ้งข้อมูลและกรอกข้อมูลในแบบคําร้องให้สมบูรณ์ ถูกต้อง ครบถ้วนตามความเป็นจริง พร้อมลงลายมือชื่อรับรองข้อมูล ในแบบคําร้องด้วย สําหรับผู้ขอขึ้นทะเบียนใหม่ ต้องมีผู้นําชุมชน (รายละเอียดตามคํานิยาม) ลงลายมือชื่อพร้อมระบุตําแหน่ง เป็นพยานการให้ข้อมูล
วิธีตรวจสอบสถานะเกษตรกรและสมาชิกครัวเรือน
ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถตรวจสอบสถานะเกษตรกรและสมาชิกครัวเรือน ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรได้ที่ลิงก์ การตรวจสอบสถานะความเป็นเกษตรกรและสมาชิกครัวเรือน
โพสต์โดย : ืnaderi เมื่อ 24 เม.ย. 2563 14:00:54 น. อ่าน 142 ตอบ 0