เช็คเลย เริ่มวันนี้เป็นวันแรก เปิดให้ผู้ใช้มือถือรับสิทธิ์โทรฟรี 100 นาที ค่ายมือถือ 6 ราย พร้อมช่วยลดภาระค่าใช้จต่ายให้ประชาชน สนับสนุนมาตรการหยุดอยู่บ้านเพื่อชาติ เปิดให้ลงทะเบียนรับสิทธิ์ ตั้งแต่วันที่ 1 -15 พ.ค.
เช็คเลย รมว.ดีอีเอส กล่าวว่า ตนรับทราบและเข้าใจดี ถึงข้อเรียกร้องของประชาชนที่อยากให้เน้นลดค่าบริการหรือเพิ่มสิทธิ์เน็ตฟรีมากกว่า แต่ทั้งหมดต้องพิจารณาจากภาพรวม เพราะความจำเป็นของผู้ใช้งาน ที่แตกต่างกัน และยังมีหลายคนที่ใช้การโทรด้วยเสียง เพราะสัญญาณมีความเสถียรกว่าแบบใช้เน็ตโดยเฉพาะในต่างจังหวัด ซึ่งคนกลุ่มนี้ อาจไม่สามารถเดินทางข้ามจังหวัดได้จากมาตรการของภาครัฐ และยืนยันว่า ทุกอย่างผ่านการปรึกษาหารือกับ กสทช. และผู้ให้บริการเครือข่ายทุกรายเป็นอย่างดีแล้ว โดยพยายามตอบสนองให้ได้มากที่สุดทั้งเน็ตฟรีและโทรฟรี
“เชื่อว่าประชาชนที่ใช้งานโทรศัพท์ทั้งระบบรายเดือน เติมเงิน กลุ่มนักศึกษา เจ้าของธุรกิจ และทุกคนในครอบครัวที่ต้องทำงานอยู่ที่บ้าน จะได้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อสื่อสารในแต่ละเวลาแตกต่างกัน ส่วนผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์จากมาตรการ เช่น กลุ่มที่ใช้แพ็กเกจโทรแบบไม่จำกัดนาที หรือเบอร์ที่จดทะเบียนในนามนิติบุคคล กระทรวงดีอีเอสได้รับการประสานจากผู้ให้บริการเครือข่ายต่าง ๆ ว่า ได้ปรับราคาค่าบริการให้ลูกค้าจ่ายน้อยลง แต่ได้มากกว่า และมีบริการเสริมอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย และรักษาฐานลูกค้าของตนเองอย่างดีที่สุด” นายพุทธิพงษ์ กล่าว
นายฐากร ตัณธสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า สำกงาน กสทช. ร่วมกับค่ายมือถือ 6 ราย ได้แก่ เอไอเอส ทรู ดีแทค แคท ทีโอที และเพนกวิน พร้อม 100% ที่จะให้ประชาชนได้ใช้บริการโทรฟรี 100 นาที นาน 45 วัน ทุกเครือข่าย ภายใน 6 ค่าย โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้(1 พ.ค. 2563) เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือในช่วงโควิด-19 ระบาด
ทั้งนี้ เปิดให้ประชาชนเริ่มกดรับสิทธิ์ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. เวลา 8.00 น.ไปจนถึงวันที่ 15 พ.ค. 2563 เวลา 24.00 น. โดยกด* 170* ตามด้วยหมายเลขบัตรประชาชน 13 ที่ใช้ลงทะเบียนซิม จากนั้นกด # แล้วกดโทรออก สามารถใช้งานได้ทันทีหลังจากได้รับ sms ยืนยัน โดยมีระยะเวลาการใช้งานได้ 45 วัน
ส่วนคนที่จะไม่ได้รับสิทธิ์ในโครงการนี้ มีอยู่แค่ คือ 1. ซิมที่ลงทะเบียนไว้ในนามของบุคคลต่างชาติและ2. ซิมที่ลงทะเบียนไว้ในนามนิติบุคคล นอกนั้น ได้รับสิทธิ์หมด 1 สิทธิ์ ต่อ 1 ค่าย ทั้งแบบเติมเงินและรายเดือน ได้รับทุกค่าย เช่น ท่านมีเบอร์มือถือ 3 ค่าย ค่ายละเบอร์ได้รับสิทธิ์ทั้ง 3 เลขหมาย ทั้งนี้ต้องเป็นซิมที่ลงทะเบียนก่อนวันที่ 31 มี.ค. 2563 เท่านั้น
สำหรับกลุ่มเป้าหมายของโครงการนี้ ได้แก่ประชาชนที่เป็นผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือแบบเติมเงินซึ่งจากข้อมูลพบว่า 70% เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัด ผู้ใช้บริการที่อยู่ในเมือง ที่ต้องโทรกลับบ้าน โทรหา พ่อ แม่ ญาติ พี่น้อง หรือติดต่อสื่อสารกันโดยใช้การโทรติดต่อสื่อสารกันผ่านระบบเสียง เพื่อสอบถามข่าวคราว พูดคุย ในช่วงที่ไม่สามารถเดินทางไปหากันได้ในช่วงเวลานี้ ซึ่งคาดว่าจะมีคนที่ได้รับสิทธ์ตามโครงการนี้ประมาณ 50 ล้านเลขหมาย รวมทั้งซิมแบบรายเดือนที่ยังคงใช้บริการในระบบเสียงอยู่
อย่างไรก็ตามรัฐบาล สำนักงาน กสทช. และ 6 ค่ายมือถือ คาดหวังว่า โครงการนี้จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในช่วงเชื้อไวรัสโควิด-19 ระบาด ให้ประชาชนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ แม้อยู่บ้านแต่ความสัมพันธ์ ความผูกพันของครอบครัวยังคงอยู่ สามารถทำงานที่บ้านสร้างรายได้ให้ครอบครัวได้ฃ
แล้วก็เรื่องของการทบทวนสิทธิ์ จากกรณีรัฐบาลเปิดมาตรการเยียวยาลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ นอกระบบประกันสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัส “โควิด-19″ (COVID-19) จะได้รับเงินสนับสนุนรายละ 5,000 บาทต่อเดือน ลงทะเบียนขอรับสิทธิ์ไปแล้ว แต่ยังเปิดเว็บให้ตรวจสอบสถานะ ยกเลิกการลงทะเบียน, ยื่นทบทวนสิทธิ์, เปลี่ยนแปลงข้อมูลการรับเงิน และยื่นข้อมูลเพิ่มเติมได้
ขณะที่ผู้ไม่ผ่านเกณฑ์การคัดกรองมาตรการเยียวยา 5,000 บาท ขอทบทวนสิทธิ์ได้นั้น กระทรวงการคลังได้มอบหมาย “ผู้พิทักษ์สิทธิ์” จำนวนกว่า 23,000 คน สับเปลี่ยนลงพื้นที่เพื่อปฏิบัติงานทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 23 เม.ย. 2563 เป็นต้นมา ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ทั้งนี้ เพื่อทำหน้าที่ยืนยันตัวตนและตรวจสอบการประกอบอาชีพตามที่ได้ลงทะเบียนไว้ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสังกัดกระทรวงการคลัง ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และรวมถึงสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่นๆ
สำหรับ “ผู้พิทักษ์สิทธิ์” คือ เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลังปฏิบัติหน้าที่เก็บข้อมูล/หลักฐานการประกอบอาชีพ จากประชาชนผู้ขอยื่นทบทวนสิทธิ์ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ทั้งนี้ ผู้พิทักษ์สิทธิ์ไม่มีอำนาจในการตัดสินผลการพิจารณา โดยเพียงทำการส่งข้อมูลเข้ากระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาตามคุณสมบัติของมาตรการฯ ต่อไป
ผู้พิทักษ์สิทธิ์ตรวจสอบข้อมูล 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ถ่ายรูปบัตรประชาชน
ของผู้ทบทวนสิทธิ์
2. ถ่ายรูปใบหน้า
ของผู้ทบทวนสิทธิ์
3. ตรวจสอบและถ่ายรูปหลักฐาน
ประกอบอาชีพของผู้ทบทวนสิทธิ์
หลักฐานที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูล
- ภาพหลักฐานการประกอบอาชีพ
เช่น สถานที่ทำงาน หน้าร้าน รถที่ขับ สินค้าที่ขาย อุปกรณ์ประกอบอาชีพ
- ใบอนุญาตการประกอบอาชีพ
เช่น ใบประกอบวิชาชีพ ใบขับขี่สาธารณะ ทะเบียนการค้า ใบอนุญาตให้ประกอบการตามอาชีพ ออกโดยหน่วยงานของรัฐ
- เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ
เช่น สัญญาเช่าร้าน หลักฐานการรับเงิน ที่พักอาศัยปัจจุบัน (กรณีไม่มีหน้าร้าน) หลักฐานทาง social media เอกสารการรับงานหรือดูแลลูกค้าตามการว่าจ้าง.