#fintips #มนุษย์เงินเดือน #1ล้านบาท #นิสัยรวย
-เลิกนิสัย 6 อย่าง ที่ทำให้เก็บเงินไม่อยู่ เพื่อชีวิตการเงินที่ดีขึ้น
มนุษย์เงินเดือน หลายคนอาจจะเคยเจอกับปัญหา ออมเงินเท่าไรก็ไม่ถึงเป้าหมายสักที นั่นอาจไม่ได้เป็นเพราะว่าเราเก็บเงินไม่เก่ง แต่บางครั้งอาจเป็นเพราะนิสัย และความเคยชินบางอย่าง ที่ทำให้เงินในบัญชีของเราไหลออกทุกเดือนโดยที่เราเองไม่รู้ตัว
ดังนั้น มาสำรวจตัวเองไปพร้อมกันว่าคุณมี 6 นิสัยที่ทำให้เป็นอุปสรรคในการออมเงินอยู่หรือไม่ และควรแก้ไขอย่างไรเพื่อพิชิตเงินล้าน
ลด - ละ - เลิก 6 นิสัย ที่จะทำให้คุณเก็บเงินไม่อยู่
หลายคนคงเคยได้ยินทฤษฎี 21 วัน ของ Dr. Maxwell Maltz ที่กล่าวถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ หากคุณทำสิ่งไหนซ้ำ ๆ เป็นเวลา 21 วัน จะทำให้คุณชินกับสิ่งนั้นจนกลายเป็นนิสัยไป ดังนั้นเมื่อคุณต้องการเปลี่ยนนิสัย หรือพฤติกรรม คุณเองก็สามารถทำได้ด้วยการเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ แล้วรักษาวินัย ให้ครบ 21 วัน คุณเองก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลง
ซึ่งคุณสามารถนำทฤษฎีนี้มาปรับใช้กับนิสัยทางการเงินได้เช่นกัน เช่น วินัยในการออมเงิน, วางแผนการเงิน, ลงทุน เป็นต้น
1. เลิกใช้เงินก่อน แล้วออมทีหลัง: หากคุณเป็นหนึ่งในพนักงานเงินเดือน ที่พอเงินเข้าบัญชีปุ๊บ ก็โอนออกไปใช้จ่ายปั๊บ เหลือเท่าไรค่อยนำมาเป็นเงินเก็บ ให้ลองเปลี่ยนวิธีเป็นการออมเงินทันทีแล้วค่อยใช้ทีหลังแทน จะช่วยให้คุณออมเงินตามเป้าหมายได้ง่ายยิ่งขึ้น
ควรกำหนดจำนวนเงินที่ต้องการออมในแต่ละเดือนไว้ เพื่อสร้างความสม่ำเสมอ และทำจนเป็นนิสัย เช่น เมื่อเงินเดือนเข้า จะหัก 10% ของเงินเดือนมาเป็นเงินออมทันที เหลือเท่าไรค่อยนำไปใช้จ่าย หรือ เช่น สร้างนิสัยรักการออม โดยการหยอดกระปุกทุกวัน วันละ 100 บาท เป็นต้น
ปัจจุบัน โซเชียลมีเดียเข้ามามีผลต่อนิสัยของมนุษย์เป็นอย่างมาก บางทีเห็นเพื่อนในโลกออนไลน์ซื้อของสวย ๆ งาม ๆ จากที่เราไม่เคยอยากได้ อยากมี ก็ไปซื้อตามโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงความจำเป็น ทำให้บ่อยครั้งที่เรามักจะหมดเงินไปกับการตามกระแส ดังนั้น ก่อนใช้จ่าย เราควรคำนึงถึงความจำเป็นก่อนเสมอ ให้ซื้อของเพราะต้องใช้ ไม่ใช่เพราะของมันต้องมี
3. เลิกก่อหนี้ โดยไม่จำเป็น: ต่อเนื่องมาจากข้อด้านบน หากคุณเป็นคนที่ซื้อของด้วยเหตุผล “
ของมันต้องมี” บ่อย ๆ หนึ่งในปัญหาที่มนุษย์เงินเดือนจะเจอกันนั่นคือ หนี้บัตรเครดิต รูดไปก่อน ค่อยจ่ายทีหลัง แต่เอาเข้าจริงไม่มีให้จ่าย หรือมีจ่ายแบบเดือนชนเดือน ซึ่งก็จะทำให้เกิดปัญหาการเงินไม่รู้จบ
เพื่อตัดปัญหาเหล่านี้จึงควรเลิกก่อหนี้โดยไม่จำเป็น และรู้จักบริหารเงินอย่างชาญฉลาด เช่น รูดบัตรเครดิตในจำนวนเงินที่ผ่อนไหว, ไม่ใช้จ่ายเกินตัว เป็นต้น
4. เลิกใช้เงินแบบไม่วางแผนอนาคต: หลายคนประสบปัญหาเงินเหลือไม่พอใช้ถึงสิ้นเดือน อาจเป็นเพราะคุณไม่ได้วางแผนการเงิน หรือวางแผนไม่ดีพอ จึงทำให้เหลือเงินไม่พอต่อการใช้จ่าย
เราสามารถแก้ปัญหานี้ได้ เพียงเริ่มทำรายการสรุปค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน จดบันทึกค่าใช้จ่ายรายวัน-รายสัปดาห์ รวมถึงการทำงบการเงินล่วงหน้าเพื่อประเมินรายรับ-รายจ่ายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยให้บริหารเงินได้ดียิ่งขึ้น
5. เลิกลงทุนโดยไม่ศึกษาให้รอบคอบ: ทุกคนล้วนใฝ่ฝันที่อยากจะมี passive income จึงมักนำเงินเก็บไปลงทุนเพื่อสร้างรายรับ แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยเลย ที่ต้องสูญเงินไปเพราะไม่ศึกษาการลงทุนให้ดีเสียก่อน ไปลงทุนตาม ๆ กันไปกับคนรู้จัก
เพราะการลงทุนนั้นมีความเสี่ยง ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะลงทุนอะไรก็ตาม จึงควรศึกษาให้ละเอียดด้วยตัวเอง ทำความเข้าใจ พร้อมทั้งศึกษารายละเอียดเงื่อนไขต่าง ๆ วางแผนการลงทุนให้รอบด้าน หากต้องการคำแนะนำ ก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
6. เลิกเก็บเงินบัญชีเดียว: หากคุณมีบัญชีออมเงิน และบัญชีสำหรับใช้จ่ายเป็นบัญชีเดียวกัน อาจทำให้คุณเผลอใช้เงินเก็บไปโดยไม่รู้ตัวได้ เพราะฉะนั้นจึงควรแยกบัญชีเงินออม และเงินสำหรับใช้จ่ายออกจากกัน รวมถึงควรแยกบัญชีตามจุดประสงค์ในการออมเงิน เพื่อไม่ให้ดึงเงินมาใช้มั่วซั่วอีกด้วย เช่น แบ่งเงินเป็น 3 ส่วน คือ สำหรับใช้จ่าย, สำหรับออมเพื่อลงทุน และสำหรับออมไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เป็นต้น
หลังจากได้สำรวจตัวเองเพื่อ ลด-ละ-เลิก นิสัยที่ทำให้เก็บเงินไม่อยู่กันไปแล้ว เราจึงมีเคล็ดลับเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการพิชิตเงินล้านแบบฉบับมนุษย์เงินเดือนมาฝากกัน เพียงแค่ 3 ป. ท่องไว้ให้ขึ้นใจ แล้วลด-ละ-เลิกนิสัยที่ทำให้เงินไหลออกจากกระเป๋าไปได้ คุณจะได้เห็นเงินล้านไม่นานเกินรอ
1. ป้องกันความเสี่ยง: การมีเงินทุนสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เป็นหนึ่งสิ่งสำคัญในการป้องกันความเสี่ยงด้านการเงิน เพราะอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน การมีเงินสำรองไว้สักก้อนจึงอุ่นใจกว่า โดยควรมีเงินสำรองฉุกเฉิน สำหรับใช้อย่างน้อย 6-12 เดือน เผื่อไว้ในกรณีขาดรายได้ หรือเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น หากคุณมีรายรับ 25,000 บาทต่อเดือน และมีรายจ่ายรวมต่อเดือน 14,000 บาท ดังนั้นคุณควรมีเงินสำรองฉุกเฉินประมาณ 84,000-168,000 บาท (6-12 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน)
อีกหนึ่งสิ่งที่คนมักมองข้ามนั่นคือ การซื้อประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางสำหรับป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน เพราะเมื่อเจ็บป่วยขึ้นมากะทันหัน ประกันสุขภาพก็ช่วยคุณประหยัดเงินก้อนไปได้อีกเยอะ
2. ปลอดหนี้: จากที่บอกไปใน 6 นิสัยที่ควรลด-ละ-เลิกนั่น คือ เลิกก่อหนี้โดยไม่จำเป็น หรือเกินกำลัง เมื่อคุณเลิกก่อหนี้ และตามปิดหนี้ได้แล้ว สิ่งที่ควรรักษาไว้ให้ได้คือสภาวะ “ปลอดหนี้” เพื่ออนาคตทางการเงินที่มั่นคงของคุณเอง เช่น ก่อนรูดบัตรเครดิตซื้อของ ควรศึกษาเงื่อนไขและโปรโมชันให้ดีก่อน
หากคุณฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ เดือนละ 5,000 บาท ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ 0.25% คุณต้องใช้เวลาถึง 17 ปี ถึงจะพิชิตเงินล้านแรกได้
หมายเหตุ: เป็นการคำนวณเบื้องต้นเท่านั้น การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง คุณควรศึกษาให้ดีก่อนเลือกลงทุน
จากการได้สำรวจตัวเองทั้ง 6 ข้อ มีกี่นิสัยบ้างที่เป็นอุปสรรคต่อการออมเงินของคุณ แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะเราสามารถปรับเปลี่ยนนิสัยเหล่านี้ได้ เพียงคุณลงมือทำอย่างจริงจัง
-สนับสนุนโดย
ARICH88 ที่คนไทยนิยมมากที่สุด