การตั้งเป้าหมาย หรือ goal setting ก็คือ การกำหนดว่าเราทำสิ่งนี้เพื่ออะไร เมื่อเรากำหนดเป้าหมายแล้ว เราก็จะได้แนวทางการลงมือทำ เห็นทิศทางของสิ่งที่ทำว่าจะออกมาในรูปแบบไหน แล้วเราก็สามารถวางแผนการทำงานได้ เมื่อมีความชัดเจนทั้งในเรื่องของเป้าหมายการลงมือทำ และแผนการที่จะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ เราก็สามารถแก้ความขี้เกียจไปได้ค่ะ เพราะเราจะเกิดแรงจูงใจในการลงมือทำตามแผน อย่างไรก็ตามเป้าหมายที่ตั้งขึ้นมานั้นต้องเป็นเป้าหมายที่เราต้องการจะทำให้สำเร็จจริง ๆ มีความเป็นไปได้ เห็นเป็นรูปธรรม เพราะเป้าหมายจะมีผลต่อความเชื่อว่าตนเองมีความสามารถที่จะทำให้สำเร็จได้ (Adequate Self – Efficacy) นั่นเองค่ะ
การทำให้ภารกิจ หรือสิ่งที่เราต้องลงมือทำให้เป็นเรื่องสนุกนั้น จะช่วยให้เราเกิดแรงจูงใจภายใน (intrinsic motives) คือ แรงจูงใจที่มาจากความคิด ความรู้สึกของเราเอง โดยการเปลี่ยนกระบวนการที่น่าเบื่อให้เป็นเกม เช่น จากทำงานอยู่คนเดียว ก็ลองเปลี่ยนมาทำ Focus Group หรือแข่งกันเสนอไอเดียแหวก ๆ เพื่อให้ได้รูปแบบการทำงานใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ หรือเปลี่ยนวิธีการทำงานบ้านให้น่าสนุก โดยการใช้เครื่องมือที่เราคิดไม่ถึงมาช่วย เช่น ใช้สว่านเสียบหัวขัดมาขัดห้องน้ำ หรือหาไอเดียแต่งบ้านที่น่าสนใจมาลองทำดู วิธีการเหล่านี้จะช่วยให้เราแก้ความขี้เกียจได้จากการเปลี่ยนความรู้สึกเบื่อ ไม่อยากทำงาน ไม่อยากทำความสะอาดบ้าน ให้เป็นความรู้สึกว่าสิ่งที่เราทำอยู่เป็นสิ่งที่ดี เป็นเรื่องน่าสนุก น่าสนใจ มีความท้าทาย
3. มองเห็นสิ่งที่เราจะได้รับจากการทำสิ่งนั้น
พูดแบบตรงไปตรงมา ก็คือ การมองเห็นผลประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการทำสิ่งนั้นนั่นเองค่ะ โดยการมองเห็นว่าเราจะได้อะไรกลับมานั้น ถือว่าเป็นการสร้างแรงจูงใจภายนอก (extrinsic motives) ซึ่งก็คือสิ่งกระตุ้นให้เราเกิด “ความอยาก” ที่จะลงมือทำ เพื่อให้สำเร็จตามที่เราต้องการ ซึ่งแรงจูงใจภายนอกที่ว่านั้นอาจจะเป็นรางวัล ชื่อเสียง การได้รับการยอมรับ ได้ยอดไลก์ ยอดวิว หรือได้ทำประโยชน์เพื่อคนอื่น ก็ได้เช่นกันค่ะ โดยสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราเกิด Passion ในการลงมือทำสิ่งใด ๆ ก็ตามให้สำเร็จ เพราะเรามองเห็นจุดหมายปลายทางแล้วว่า ถ้าเราทำสำเร็จเราจะได้รับอะไรกลับมา
4. หาเพื่อนร่วมด้วยช่วยลงมือทำ
ถ้าลงมือทำคนเดียวแล้วไปไม่ไหว ขี้เกียจเสียก่อนที่จะทำสำเร็จ โดยเฉพาะกิจกรรมท้าทายแรงใจ เช่น การลดน้ำหนัก การออกกำลังกาย การอ่านหนังสือสอบ ลองมาแก้ความขี้เกียจเหล่านั้นด้วยการหาเพื่อนร่วมด้วยช่วยทำกันดูนะคะ ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ พี่ น้อง คนรัก เพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงาน หรือสัตว์เลี้ยงของเรา ลองชวนมาเป็นแก๊งพิชิตภารกิจของเรากันดูค่ะ เพราะเมื่อเรามีเพื่อนร่วมทำกิจกรรมแล้วเราจะเกิดแรงจูงใจทางด้านสังคม (social motivation) ทำให้เรามีแรงฮึด มีแรงเสริม มีคนคอยกระตุ้นให้เราไปต่อ จนเกิดแรงใจที่จะสู้กับอุปสรรค ซึ่งอุปสรรคหลักก็คือ ความขี้เกียจของเรา จนสามารถลงมือทำในสิ่งที่ตั้งใจไว้ให้สำเร็จตามเป้าหมาย
5. ให้รางวัลกับตัวเองเมื่อทำได้ตามเป้าหมาย
เมื่อเราสามารถเอาชนะความขี้เกียจ ลงมือทำภารกิจของเราจนสำเร็จแล้ว ก็อย่าลืมให้รางวัลกับตัวเองด้วยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นไปเที่ยวในสถานที่แจ่ม ๆ ไปทานอาหารอร่อย ๆ ในร้านชิค ๆ ซื้อเสื้อผ้าสวย ๆ ซื้อกระเป๋า หรือสิ่งของที่เราต้องการ เพื่อเป็นการเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) ให้เรามีกำลังใจในการทำสิ่งต่าง ๆ ได้ตามเป้าหมาย เกิดแรงจูงใจที่จะพิชิตภารกิจอื่น ๆ ของเราต่อไป ถึงแม้จะมีอุปสรรคบ้าง ขี้เกียจบ้าง แต่ถ้าของรางวัลที่เราตั้งไว้ให้ตัวเองน่าสนใจมากพอ เชื่อเถอะค่ะว่าเราจะมีแรงอึด ฮึด สู้ ฟันฝ่าอุปสรรคจนสำเร็จได้ในที่สุด
6. จัดสภาพแวดล้อมในการทำสิ่งต่าง ๆ ให้เหมาะสม
เทคนิคจิตวิทยาในการแก้ความขี้เกียจที่นำมาฝากกันในบทความนี้ ก็คือ การจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำภารกิจ (Working Conditions) ของเราให้สำเร็จค่ะ ไม่ว่าจะเป็น แสง สี เสียง อุณหภูมิ การระบายอากาศ กลิ่น บรรยากาศ ความปลอดภัย รวมไปถึงอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ต้องเอื้อให้เราพร้อมที่จะทำงาน หรือทำสิ่งต่าง ๆ ที่เราตั้งใจเอาไว้ นอกจากนี้แล้วผู้คนในสถานที่นั้น ๆ ก็ต้องให้ความร่วมมือในการทำงาน หรือภารกิจของเราด้วย ดังนั้นการจัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ และการสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้คนในสถานที่จึงเป็นอีกเรื่องที่สำคัญในการแก้ความขี้เกียจค่ะ
“ความขี้เกียจ” เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากจิตใต้สำนึกของเรา ที่อาจเกิดจากความเครียด ความเบื่อ การขาดพลังใจ ดังนั้นวิธีแก้ที่ดีที่สุด ก็คือ การจัดการที่ต้นเหตุ โดยการเพิ่มแรงจูงใจด้วย 6 เทคนิคข้างต้นที่นำมาฝากกัน นำไปใช้แล้วผลเป็นอย่างไร อย่าลืมมาเล่าให้กันฟังบ้างนะคะ
โพสต์โดย : เจ้าหนู เมื่อ 15 ต.ค. 2566 18:25:13 น. อ่าน 138 ตอบ 0