โซดาซ่า ดูบอล
Menu
กรุณากดปุ่ม แชร์ ให้เพื่อนๆได้มาดูด้วย

ไม่ว่าจะพยายามยังไงก็ยังรู้สึกว่าตัวเองดีไม่พอ เกิดจากอะไรและจะแก้ยังไง

ทุกคนสามารถเกิดความรู้สึกว่าตัวเอง “ดีไม่พอ” ขึ้นมาได้ในบางช่วงของชีวิต แต่หลายคนก็พบว่าตัวเองรู้สึกดีไม่พออยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะพยายามยังไงหรือแม้จะมีคนบอกว่า “ดีแล้ว” แต่ก็ยังรู้สึกว่าตัวเองยังดีไม่พออยู่ดี สาเหตุที่ทำให้บางคนรู้สึกว่าตัวเองดีไม่พออยู่ตลอดเวลานั้นอาจะเกิดขึ้นได้จากปัจจัยที่ทำให้ความรู้สึกไม่มั่นคง (insecurities) เกิดขึ้นลึก ๆ ในใจ เช่น


ปัจจัยข้างต้นส่งผลทำให้เกิดความรู้สึกด้อยค่าหรือสงสัยในคุณค่าของตนเอง โดยเฉพาะประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็ก เช่น เคยถูกคนในครอบครัวทารุณกรรม มีประวัติการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดบาดแผลทางใจ ประสบการณ์เหล่านี้จะมีผลต่อการเกิดความรู้สึกอื่น ๆ ตามมา เช่น รู้สึกสิ้นหวัง มองว่าทุกอย่างมันจบสิ้นแล้ว ไม่มีทางออก มองไปทางไหนก็มืดมนไม่มีใครช่วยอะไรได้ (helplessness) หรือในด้านสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพออาจส่งผลต่อความรู้สึกว่าตัวเองไม่คู่ควรกับความสัมพันธ์ที่ดี ทำให้ไม่กล้าที่จะคบกับเพื่อนดี ๆ หรือแฟนดี ๆ สังคมสภาพแวดล้อมดี ๆ รวมไปถึงตำแหน่งหน้าที่การงานระดับสูง นอกจากนั้นนั้นแล้ว ความรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอมักนำไปสู่ความรู้สึกเหงาและไม่มีความสุขอีกด้วย ซึ่งในระยะยาวหากปล่อยให้ตัวเองติดอยู่กับความรู้สึกไม่ดีพอก็สามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตขึ้นมาได้


เมื่อเกิดความรู้สึกไม่ดีพอขึ้นมา...


1. คุณมีหลักฐานอะไรที่มาสนับสนุนว่าคุณไม่ดีพอจริง ๆ

ความรู้สึกว่าตัวเองดีไม่พอมักเป็นความรู้สึกที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง หลายครั้งมักเกิดขึ้นกับคนที่มีสภาวะ Imposter Syndrome จึงมักมีความรู้สึกว่าตัวเองดีไม่พอทั้งที่ไม่มีหลักฐานอะไรมาสนับสนุนว่าตัวเองยังทำได้ไม่ดีหรือไม่คู่ควรกับสิ่งดี ๆ หากคุณเกิดความรู้สึกว่าตัวเองดีไม่พอขึ้นมา คุณควรตั้งคำถามกับความคิดที่ผุดขึ้นมาแบบนั้นว่า “มีหลักฐานอะไรบ้างที่มันบ่งชี้ว่าฉันไม่ดีพอ” ซึ่งส่วนใหญ่มักจะพบว่า..ไม่มี


2. คุณกำลังเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น ๆ อย่างไม่ยุติธรรมกับตัวเองหรือไม่?

หลายครั้งคนเราก็รู้สึกว่าตัวเองดีไม่พอจากการเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนที่มีพื้นฐานและต้นทุนชีวิตแตกต่างกับตัวเอง ซึ่งการเปรียบเทียบเช่นนี้มันเป็นการการเปรียบเทียบที่ไม่ยุติธรรมเลย สิ่งที่คุณควรทำต่อจากนี้คือ ควรระลึกถึงความเป็นจริงอยู่เสมอว่ามนุษย์แต่ละคนมีความเป็นปัจเจกที่ทำให้แต่ละคนมีเส้นทางชีวิตแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงไม่สามารถเอามาเปรียบเทียบกันได้ หากคุณยังคงเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่นที่มีพื้นฐานและต้นทุนชีวิตที่ต่างกับคุณ คุณกำลังไม่ยุติธรรมกับตัวเอง ซึ่งคุณควรจะหยุดทำ


3. หันมาโฟกัสที่จุดแข็งและสิ่งที่คุณทำได้

การไปโฟกัสกับความรู้สึกว่าตัวเองดีไม่พอจะทำให้คุณยิ่งสูญเสียความมั่นใจไป คุณควรหันมาโฟกัสที่จุดแข็งของตัวเอง และพยายามนึกถึงสิ่งที่คุณเคยกลัวว่าจะล้มเหลวแต่คุณก็สามารถทำมันได้สำเร็จในที่สุด เพื่อช่วยให้ตัวเองรู้สึกมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น เพราะที่จริงแล้วคุณเองก็มีศักยภาพและทำอะไรได้ตั้งหลายอย่าง และคุณไม่ได้อวยตัวเองขึ้นมาลอย ๆ เพราะว่ามันมีตั้งหลายสิ่งที่คุณทำมันสำเร็จได้จริง ๆ และความสำเร็จของชีวิตก็ไม่จำเป็นต้องยิ่งใหญ่อะไรเลย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้า การที่คุณสามารถตื่นและลุกจากเตียงออกมาทำกิจวัตรประจำวันให้ผ่านไปได้อีกหนึ่งวัน นี่ก็ถือว่าเป็นความสำเร็จของคุณแล้ว เพราะมันไม่ง่ายเลยที่คุณจะลุกขึ้นมาใช้ชีวิตปกติประจำวันได้ในขณะที่อาการของโรคซึมเศร้ามันยังคงดำเนินอยู่ในตัวคุณ


4. สำรวจความรู้สึกตัวเองว่าความไม่สมบูรณ์แบบมันจะทำให้คุณเป็นยังไง

โพสต์โดย : เจ้าหนู เจ้าหนู เมื่อ 1 พ.ย. 2566 05:41:35 น. อ่าน 141 ตอบ 0

facebook
close advertisement