สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เผยสถิติล่าสุดเมื่อปลายปี 2565 ว่า “คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดวันละกว่า 40 คน” ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่ากังวลอยู่ไม่น้อย ทั้งผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดในไทยยังพบในช่วงอายุน้อยลง ดังนั้นเราทุกคนจึงไม่ควรชะล่าใจ เพราะแม้ว่าร่างกายจะดูเหมือนแข็งแรงดี ไม่มีความเสี่ยงหรืออาการเตือนใดๆ แต่ทุกคนก็มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดได้ แม้อายุจะยังไม่มาก
เมื่อพูดถึงมะเร็งปอด หลายคนอาจมองว่าต้องเกิดจากการสูบบุหรี่เท่านั้น แต่จริงๆ แล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่มองข้ามไม่ได้
ส่วนใหญ่โรคมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นมักไม่แสดงอาการ ถ้าเริ่มมีอาการเมื่อไหร่ นั่นหมายถึงอยู่ในระยะลุกลามแล้ว โดยมีอาการที่พบมักมีดังนี้ ไอเรื้อรัง หายใจลำบาก เจ็บหรือแน่นหน้าอก เสียงแหบ เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
การตรวจวินิจฉัยมะเร็งปอดแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีอาการค่อนข้างชัดเจนหรือน่าสงสัย กับกลุ่มที่ไม่มีอาการ ทั้งนี้ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป แม้ไม่มีอาการ แต่มีประวัติสูบบุหรี่จัด ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปอด ด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์รังสีต่ำ (Low Dose CT Scan) ซึ่งจะได้ภาพปอด 3 มิติ ที่สามารถตรวจเจอมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น คือมีความละเอียดและชัดเจนว่าการเอกซเรย์ปอดธรรมดา ที่อาจตรวจไม่พบหากยังมีอาการไม่มาก
โรคมะเร็งปอดแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก และชนิดเซลล์ไม่เล็ก โดยมีการแบ่งระยะของโรคที่แตกต่างกัน ดังนี้
การรักษาโรคมะเร็งปอด จะขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรค ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยและวางแผนการรักษาตามความเหมาะสมเป็นรายบุคคล โดยทั่วไปจะมี 3 วิธีรักษาหลัก คือ
โพสต์โดย : เจ้าหนู เมื่อ 28 พ.ย. 2566 04:43:41 น. อ่าน 143 ตอบ 0