MENU
เว็บบอร์ด
ผลบอล
วิเคราะห์บอล
ไฮไลท์ฟุตบอล
ตารางคะแนน
ดูบอลสด
Menu
หน้าแรก
ดูบอลสด
ตารางบอลวันนี้
ตารางบอลพรุ่งนี้
ผลบอลย้อนหลัง
ทายผลบอล
ข่าววันนี้
ข่าวเด่นวันนี้
ข่าวพรีเมียร์ลีค
ข่าวลาลีกา
ข่าวบุนเดสลีกา
ข่าวกัลโซ่ ซีเรียอา
ข่าวลีกเอิง
ข่าวไทยพรีเมียร์ลีก
ข่าวยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
ข่าวยูโรป้า
ข่าวฟุตบอลโลก
ลิ้งดูบอล
คลิปไฮไลท์
ไฮไลท์ฟุตบอลอุ่นเครื่อง
ไฮไลท์พรีเมียร์ลีก
ไฮไลท์ลาลีกา
ไฮไลท์บุนเดสลีกา
ไฮไลท์กัลโซ่ ซีเรียอา
ไฮไลท์ลีกเอิงฝรั่งเศษ
ไฮไลท์ไทยพรีเมียร์ลีก
ไฮไลท์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
ไฮไลท์ยูโรป้า
ผลบอล
ดูทีวีออนไลน์
วิเคราะห์บอล
ตารางคะแนน
พรีเมียร์ลีค
แชมเปี้ยนชิพอังกฤษ
ลาลีกา
บุนเดสลีกา
กัลโซ่ซีเรียอา
ลีกเอิงฝรั่งเศส
ไทยพรีเมียร์ลีก
ไทยดิวิชั่น1
Holland Eredivisie
บุนเดสลีก้า2 เยอรมัน
ลาลีกา2 สเปน
ซูเปอร์ลีกา โปรตุเกส
เว็บบอร์ด
ติดต่อโฆษณา
กรุณากดปุ่ม แชร์ ให้เพื่อนๆได้มาดูด้วย
ติดเค็มเกินไป เสี่ยง!!อ้วนลงพุง
ติดเค็มเกินไป เสี่ยง!!อ้วนลงพุง
รสชาติเค็มเปรียบเหมือนยาเสพติดโดยเร่งการผลิตโดปามีน ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองส่งผลต่ออารมณ์ความพึงพอใจ ความสุข ทำให้เกิดความรู้สึกอยากอาหาร เมื่อติดรสชาติเค็มแล้วหากไม่ได้รสชาติเค็มก็จะรู้สึกว่าอาหารไม่อร่อย รู้สึกหงุดหงิด อารมณ์เสีย นอกจากนี้ผู้ที่ติดรสชาติเค็มเพียงแค่นึกถึงอาหารที่มีรสชาติเค็มก็สามารถทำให้เกิดความรู้หิวและอยากอาหารขึ้นมา จึงเป็นสาเหตุให้ผู้ที่ชอบกินเค็มอาจจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนได้ง่ายกว่าผู้ที่ไม่ชอบกินเค็มเนื่องมาจากพอความรู้สึกอยากอาหารมากขึ้น กินก็มากขึ้น โอกาสการได้รับพลังงานที่มาจากอาหารก็จะมากขึ้นตามไปด้วย
สิ่งที่แสดงว่าคุณอาจได้รับความเค็มเกิน
ชอบกินอาหารแปรรูปเป็นประจำ ยิ่งหากกินทุกวันยิ่งเสี่ยงต่อการได้รับโซเดียมเกิน ในกลุ่มของอาหารแปรรูปจะมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบและมีปริมาณที่มากกว่าอาหารในกลุ่มของผัก ผลไม้สด รวมถึงกลุ่มข้าว ธัญพืช จากการศึกษาพบว่าคนในประเทศทางตะวันตกได้รับเกลือเกือบ 80 เปอร์เซนต์มาจากอาหารแปรรูป การที่อาหารแปรรูปเติมเกลือ (โซเดียม) เพื่อให้รสชาติเข้มข้น ยืดอายุการเก็บรักษา ผู้ที่ชอบกินอาหารแปรรูปมักจะชอบกินอาหารรสชาติเค็มมากกว่าผู้ที่ไม่ชอบกินอาหารแปรรูป
เมื่อตรวจเลือดจะพบภาวะโซเดียมสูงในเลือด คือสูงมากว่า 145 mmol/L โดยอาการแสดงเช่น คอแห้ง กระหายน้ำ ปวดศีรษะ อารมณ์หงุดหงิด หากวัดความดันโลหิตจะพบความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อการไหลเวียนของเลือด ช็อก หมดสติได้
บวม เนื่องมาจากเกลือสามารถทำให้เกิดการกักน้ำในร่างกายเพื่อใช้ในการละลายความเข้มข้นของโซเดียมสามารถสังเกตุได้จากท้องป่อง หน้าบวม แขนบวม
เมื่อนึกถึงอาหารที่มีรสชาติเค็มจะมีน้ำลายผลิตออกมาในปาก และอยากอาหารขึ้นมา
ชอบรับประทานอาหารรสจัด อาหารส่วนใหญ่ที่มีรสจัด เช่นเผ็ดจัด จะมีความเค็มตามมาด้วย
ขนมหรือของว่างที่ชอบกินมักจะอยู่ในรูปของขนมกรุบกรอบ ขนมกระป๋อง เช่นมันฝรั่งทอดกรอบ ปลาหมึกกรอบ ถั่วทอด ขนมปังกรอบ
ชอบเติมเกลือ ซีอิ๊ว น้ำปลา หรือซ๊อสต่างๆในอาหารก่อนกิน
วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกินเค็มให้ลดลง
เลือกรับประทานอาหารสดจากธรรมชาติให้มากขึ้น เน้นผัก ผลไม้ สด และลดการกินอาหารแปรรูป
อ่านฉลากโภชนาการเป็นประจำ เลือกผลิตภัณฑ์อาหารที่เหมือนกันแต่มีปริมาณของโซเดียมให้น้อยที่สุด หรือเลือกดูบรรจุภัณฑ์ที่มีคำว่า ลดการใช้เกลือ หรือ Low sodium
เลือกน้ำเปล่าแทนที่น้ำหวานหรือน้ำผลไม้ เนื่องจากน้ำผลไม้ในปัจจุบันบางครั้งมีการเติมเกลือลงไปเพื่อเพิ่มรสชาติ แต่จะยิ่งทำให้เราติดรสเค็มมากยิ่งขึ้น
ชิมรสชาติอาหารก่อนปรุง เครื่องปรุงรสเค็ม
ตั้งเป้าหมายในการกินเพื่อลดความเค็มลง โดยลดการเติมเครื่องปรุงในอาหาร
เมื่อรับประทานอาหารนอกบ้าน อาจขอแยกซอสปรุงรสต่างๆ หรือขอเค็มน้อยแทน
ผู้ที่ชอบกินอาหารเค็มจะเสี่ยงต่อการได้รับปริมาณเกลือเกินไป ซึ่งคือการไม่ได้สัดส่วนของเกลือและน้ำในร่างกายส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของระดับความดันโลหิต ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนี้การได้รับโซเดียมสูงในระยะยาวยังเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะกระดูกผุ และโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร การที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการชอบรับประทานเค็มอาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หากเริ่มจากทีละขั้นตอนช้าๆเพื่อให้ร่างกายได้ปรับเปลี่ยนและเกิดความเคยชินจะทำให้ได้ผลในระยะยาวที่ดีกว่า
ตอบคำถาม
ตั้งคำถามใหม่
โพสต์โดย : minnie
เมื่อ 27 ธ.ค. 2566 05:11:26 น. อ่าน 145 ตอบ 0
Member
Login
ลืมรหัสผ่าน
|
สมัครสมาชิกใหม่
ดูฟุตบอลออนไลน์