MENU
เว็บบอร์ด
ผลบอล
วิเคราะห์บอล
ไฮไลท์ฟุตบอล
ตารางคะแนน
ดูบอลสด
Menu
หน้าแรก
ดูบอลสด
ตารางบอลวันนี้
ตารางบอลพรุ่งนี้
ผลบอลย้อนหลัง
ทายผลบอล
ข่าววันนี้
ข่าวเด่นวันนี้
ข่าวพรีเมียร์ลีค
ข่าวลาลีกา
ข่าวบุนเดสลีกา
ข่าวกัลโซ่ ซีเรียอา
ข่าวลีกเอิง
ข่าวไทยพรีเมียร์ลีก
ข่าวยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
ข่าวยูโรป้า
ข่าวฟุตบอลโลก
ลิ้งดูบอล
คลิปไฮไลท์
ไฮไลท์ฟุตบอลอุ่นเครื่อง
ไฮไลท์พรีเมียร์ลีก
ไฮไลท์ลาลีกา
ไฮไลท์บุนเดสลีกา
ไฮไลท์กัลโซ่ ซีเรียอา
ไฮไลท์ลีกเอิงฝรั่งเศษ
ไฮไลท์ไทยพรีเมียร์ลีก
ไฮไลท์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
ไฮไลท์ยูโรป้า
ผลบอล
ดูทีวีออนไลน์
วิเคราะห์บอล
ตารางคะแนน
พรีเมียร์ลีค
แชมเปี้ยนชิพอังกฤษ
ลาลีกา
บุนเดสลีกา
กัลโซ่ซีเรียอา
ลีกเอิงฝรั่งเศส
ไทยพรีเมียร์ลีก
ไทยดิวิชั่น1
Holland Eredivisie
บุนเดสลีก้า2 เยอรมัน
ลาลีกา2 สเปน
ซูเปอร์ลีกา โปรตุเกส
เว็บบอร์ด
ติดต่อโฆษณา
กรุณากดปุ่ม แชร์ ให้เพื่อนๆได้มาดูด้วย
อาการนอนกรนแก้ได้อย่างไรบ้าง
นอนกรนเกิดจากอะไร
เกิดจากการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อบริเวณคอหอย และผนังลำคอขณะหลับ ทำให้เกิดการอุดกั้นระบบทางเดินหายใจในบางจุดจนเกิดการสั่นสะเทือนของกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ เพดานอ่อน ผนังคอหอย โคนลิ้น รวมไปถึงลิ้นไก่ เมื่อระบบทางเดินหายใจแคบลงการหายใจผ่านบริเวณดังกล่าวจึงทำให้เกิดเสียงกลายเป็นการนอนกรนในที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถรุนแรงต่อการหายใจทำให้ไม่สามารถหายใจได้ชั่วขณะหนึ่งหรือเรียกว่า
“ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ”
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงภาวะนอนกรน
ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย อาจกล่าวได้ว่าผู้ที่มีอาการนอนกรนอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วย ได้แก่
- พบได้ในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
- พบได้ในเพศหญิงส่วนมากในวัยหมดประจำเดือน
- ผู้ที่มีรูปหน้าเบี้ยว คางผิดปกติ หรือจมูกคด
- โครงสร้างของช่องจมูกแคบ
- มีน้ำหนักเกินมาตรฐานมีผลทำให้ทางเดินหายใจแคบจนเกิดอาการนอนกรนได้
- ผู้ที่มีโรคทางหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคภูมิแพ้
- การทานยาที่ส่งผลต่อการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อ
นอนกรนอย่างไรควรเข้าพบแพทย์
ผู้ที่เป็นภาวะนี้จะมีอาการโดยรวมไม่ใช่เพียงแค่การนอนกรนเท่านั้น ผู้ป่วยอาจมีอาการสะดุ้งตื่นกลางดึกเพื่อหาอากาศหายใจ และส่งผลให้มีอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะในตอนเช้า ง่วงระหว่างวัน และบางรายอาจมีความต้องการทางเพศลดลง หากมีอาการดังกล่าวไม่ควรปล่อยไว้ควรเข้ารับการตรวจโดยแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการนอนกรนต่อไป
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับอันตรายสูงสุดจากการนอนกรน
หากเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับในระดับที่รุนแรงจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ผ่านทางปัญหาโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคหัวใจวาย เป็นต้น หรือถ้าหากผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจอยู่แล้วจะยิ่งเพิ่มโอกาสเสียชีวิตขณะหลับได้
การวินิจฉัยอาการนอนกรน
แพทย์จะทำการซักถามประวัติอาการ ร่วมกับการตรวจวินิจฉัยอวัยวะอื่น ๆ ผ่านการเอกซเรย์ เช่น กะโหลก กระดูกใบหน้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถวินิจฉัยอาการนอนกรนได้จากการตรวจการนอนหลับ (Polysomnography) หรือที่เรารู้จักกันดีว่า Sleep Test หากพบว่าอาการดังกล่าวไม่ได้มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับระดับรุนแรงร่วมด้วย ยังถือว่าไม่น่าเป็นห่วงมากนัก แต่ถ้าหากพบว่ามีความเสี่ยงในระดับที่อันตรายต้องหาแนวทางในการรักษาโดยเร็วที่สุด
การแก้ไขปัญหาการนอนกรนเบื้องต้น
หากพบว่าอาการนอนกรนไม่ได้อยู่ในระดับที่อันตรายสามารถแก้ไขอาการเบื้องต้นได้ ดังนี้
- ปรับเปลี่ยนท่านอนให้ศีรษะอยู่สูงกว่าลำตัว
- รักษาน้ำหนักให้ได้ตามมาตรฐาน
- งดการสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ปรับการนอนให้ได้ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
- หลีกเลี่ยงยาที่ทำให้ง่วงนอน
ตอบคำถาม
ตั้งคำถามใหม่
โพสต์โดย : POPCORN
เมื่อ 16 ก.พ. 2567 18:39:20 น. อ่าน 148 ตอบ 0
Member
Login
ลืมรหัสผ่าน
|
สมัครสมาชิกใหม่
ดูฟุตบอลออนไลน์